วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

กิจกรรม เรื่อง การออสโโมซีสในเซลล์ไข่





ครูไวยุ์


     การออสโมซีสในเซลล์ไข่ เป็นการศึกษาการเกิดออสโมซีสของน้ำเข้าสู่เซลล์ไข่ แล้วทำให้เกิดแรงดันออสโมซีสขึ้น เมื่อมีการวัดระดับของเหลวเปรียบเทียบกับเวลา ก็จะได้ความเร็วของการออสโมซีส เรียก เครื่องมือ ที่ใช้วัด แรงดันออสโมซีสว่า ออสโมมิเตอร์ (osmositer)

ขั้นตอนการทำกิจกรรม

1. นำไข่ไก่ดิบมาเลาะเปลือกแข็งด้านป้านออก ให้มีรัศมีประมาณ 1 เซนติเมตร

  

2. เจาะเปลือกไข่ด้านแหลมให้มีขนาดใกล้เคียงกับหลอดดูด วัดระดับของหลอดดูดที่จะเจาะเข้าไปในฟองไข่ ขีดเครื่องหมายที่หลอด เจาะหลอดเข้าไปฟองไข่




3. ใช้ดินน้ำมันซีนหลอดกับเหลือกไข่ให้สนิท ถ้ามีรอยรั่วการทดบองจะไม่เกิดผล



4. ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที สังเกตและบันทึกผลระดับของของเหลวในหลอดทุก 5 นาที







การออสโมซีส (Osmosis) เป็นกระบวนการที่เกิดจากเซลล์อยูในสภาพที่มีความเข้มข้นแตกต่างกับสิ่งแวดล้อม ทำให้โมเลกุลของน้ำในเซลล์มีการเคลื่อนที่จากบริเวณที่ีความเข้มข้นของน้ำมากไปบริเวณที่มีความเข้มข้นของน้ำน้อย ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ และทำให้เกิดแรงดันออสโมซีส (Osmotic Pressure) 
ค่าแรงดันออสโมซิสของของเหลว ขึ้นอยู่กับของเหลวจะสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับสารละลายนั้น น้ำบริสุทธิ์มีแรงดันออสโมซิสต่ำสุด

แรงดันเต่ง (turgor pressure) คือแรงดันที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ อันเกิดจากน้ำแพร่เข้าไปในเซลล์ มีหน่วยเป็นบรรยากาศ

- จากปฏิบัติการทดลองออสโมมิเตอร์อย่างง่าย แรงดันเต่งวัดได้จากระดับของของเหลวที่ถูกดันขึ้นไปในหลอด เมื่อน้ำแพร่เข้าไปในไข่ แรงดันเต่งจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่เมื่อน้ำแพร่เข้าสู่ถึงจุดสมดุลของการแพร่ ระดับน้ำในหลองคงที่ จะได้ว่า

แรงดันเต่งสูงสุด = แรงดันออสโมติกของสารละลาย


- ที่สภาวะสมดุลของการแพร่ น้ำจากภายนอกไข่ แพร่เข้าสู่ภายในไข่ เท่ากับน้ำภายในไข่ แพร่ออกสู่ภายนอกไข่

ประโยชน์ของแรงดันเต่ง

1. ทำให้เซลล์เต่ง
2. ทำให้เซลล์คงรูปร่างอยู่ได้
3. ทำให้กิ่งหรือใบพืชแผ่กาง ยอดพืชตั้งตรง
ถ้าน้ำภายนอกเซลล์มีแรงดันออสโมติกสูงกว่าภายในเซลล์ จะเกิดโมเลกุลของน้ำแพร่จากเซลล์ไปสู่ภายนอกเซลล์ ถ้าเซลล์สูญเสียน้ำแรงดันเต่งจะค่อยๆลดลง

พลาสโมไลซิส (Plasmolysis) คือปรากฏการณ์ที่เซลล์สูญเสียน้ำ โพรโทพลาสซึมจะค่อยๆหดรวมตัวเป็นก้อน เยื่อหุ้มเซลล์ค่อยๆหดเข้ามา ทำให้เซลล์เหี่ยว 

พลาสมอพทิซิส ( Plasmoptysis) คือปรากฏการณ์ที่เซลล์เต่ง เนื่องจากน้ำภายนอกเซลล์มีแรงดันออสโมติกน้อยกว่าภายในเซลล์ จึงเกิดการแพร่เข้าไปในเซลล์

- เซลล์พืชถ้าได้รับน้ำมากๆจะไม่เกิดอันตราย เพราะมีผนังเซลล์เป็นตัวทำให้ แรงดันเต่งภายในเซลล์สูงเท่ากับแรงดันออสโมติก ทำให้เกิดสภาวะสมดุลของการแพร่ เซลล์จะไม่รับน้ำเพิ่ม 

- เซลล์สัตว์ไม่มีผนังเซลล์ ถ้าน้ำแพร่เข้าไปมากเซลล์จะแตก

- เซลล์ของพวกโพรทิสต์เซลล์เดียว ถ้าได้รับน้ำมากๆ แม้จะไม่มีผนังเซลล์แต่เซลล์สามารถกำจัดน้ำที่
มากเกินความต้องการออกทาง คอนแทรกไทล์แวคิวโอล


นางไวยุด๊ะ  เหตุเหล๊าะ  :  ครูผู้สอน

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/8  ร่วมทำกิจกรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น