วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

การศึกษาการทำสไลด์เพื่อศึกษาลักษณะของเซลล์พืชและการไหลเวียนของไซโทพลาซึม (สาหร่ายหางกระรอก)





ครูไวยุ์



    ผลงานนักเรียนการศึกษาการทำสไลด์เพื่อศึกษาลักษณะของเซลล์พืช (สาหร่ายหางกระรอก)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/9  ปีการศึกษา 2556  โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย


สาหร่ายหางกระรอก
ื่อวิทยาศาสตร์ (Hydrill verticillata (Linn. f.) Royle)
ชื่อพื้นเมืองและอื่นๆ hydrilla ผักขี้เต่า

    พืชใต้น้ำที่มีอายุข้ามปี พบว่ามีทั้งที่เป็นต้นแยกเพศหรือต้นที่มีทั้งสองเพศ ลำต้นเป็นสายกลมเรียวยาวตามระดับน้ำแตกกิ่งก้านสาขา
ลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดินเรียกว่า Tuber หัวที่ซอกใบ เรียกว่า turion สำหรับสะสมอาหาร รากยึดดินใต้น้ำและมีรากตามข้อบ้าง

    ใบ เดี่ยวแตกเป็นวงรอบข้อ 3-8 ใบ ไม่มีก้านใบแผ่นใบรูปไข่ยาว หรือรูปไข่ขอบขนาน ใบยาว 7-30 มิลลิเมตร ของใบหยักเป็นฟันเลื่อยละเอียด

    ดอก เดี่ยวขนาดเล็กแยกเพศ ดอกเพศเมียมีกาบหุ้ม โคนก้านดอกลักษณะเรียวยาวส่งดอกขึ้นมาบานที่ผิวน้ำ ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอก สีขาว 3 กลีบ ภายในรังไข่เพียง 1 ช่อง ยอดเกสรเพศเมียมี 3 ดอกเพศผู้มีกาบหุ้มเช่นกัน ดอกมีขนาดเล็ก ก้านดอกสั้นเมื่อดอกแก่จะหลุดลอยขึ้นไปบานที่ผิวกลีบเลี้ยง 3 กลีบ และกลีบดอก 3 กลีบ จะบานกางกระดกกลีบลงล่าง เกสรเพศผู้ 3 อัน ชูเหนือน้ำ อับเกสรเพศผู้ 4 ช่อง เมื่อแก่แตกออก ละอองเกสรจะปลิวฟุ้งกระจายไปตามลม เกิดการผสมเกสรระหว่างดอกเพศเมียที่ผิวน้ำ

     ผล ขนาดเล็กรูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร ภายในมีเมล็ด 2-3 เมล็ด

    เป็นวัชพืชที่ขึ้นอยู่ใต้ผิวน้ำ ในระดับความลึกไม่เกิน 5 เมตร ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความโปร่งใสของน้ำที่แสงแดดจะส่องผ่านได้สักเท่าใด สาหร่ายหางกระรอกต้องการแสงน้อยมากเพียง 1 % ของแสงแดดปกติเท่านั้น ความยาวลำต้นขึ้นอยู่กับระดับน้ำ ลำต้นจะแตกกิ่งก้านสาขาจำนวนมาก สานกันอยู่แน่น ปริมาณสาหร่ายหางกระรอกมีพบอยู่ระหว่าง 0.4 - 0.8 ตัน น้ำหนักแห้งต่อพื้นที่ 1 ไร่

    การขยายพันธุ์ มีหลายวิธี แต่ที่พบมากในเมืองไทย ได้แก่ การหลุดขาดของส่วนยอดของลำต้นเมื่องอกเป็นต้นใหม่ วิธีที่ 2คือคือการหลุดขาดของลำต้นซึ่งสามารถงอกเป็นต้นใหม่ได้ และวิธีที่ 3 คือ หัวใต้ดินของสาหร่ายหางกระรอก ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อสะสมอาหาร เมื่ออยู่ในสภาพแห้งแล้งหรือโดนสารเคมี และจะงอกเป็นต้นใหม่ได้เมื่อสภาพเหมาะสม เนื่องจากการแพร่กระจายของสาหร่ายหางกระรอก เป็นไปได้อย่างง่ายดาย และการควบคุมก็ลำบากเนื่องจากสาหร่ายหางกระรอกมีการลงหัว จึงพบว่าแพร่กระจายทั่วไปในคลองส่งน้ำและอ่างน้ำในเขตชลประทาน ในทั่วทุกภาคของประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตชลประทานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



สาหร่ายหางกระรอก

กลุ่ม  
1. นายพงศกร อมรมธุุรพจน์ เลขที่ 14
2. น.ส.ทิพยาภรณ์ กาวชู เลขทีี่ 42
3. น.ส.ผกายวรรณ จันทร์จิตร เลขที่ 46
4. น.ส.แพรวปรีญา แซ่ฉิ่น เลขที่ 47
5. น.ส.ภัควิภา วัชระศิรานนท์ เลขที่ 48




กลุ่ม 

1.นายชนาธิป เกิดสินธ์ชัย เลขที่ 9
2.นายศรายุทธ กมลศรี เลขที่ 6
3.นางสาวอิชยา หนูเกื้อ เลขที่ 20
4.นางสาวณิชนันท์ ชีวนิชพันธ์ เลขที่ 30
5.นางสาวศุภกาญจน์ ตั้งโพธิธรรม เลขที่ 36




กลุ่ม
1.นายนรวิชญ์ สุวารักษ์ เลขที่ 13
2.นางสาวนัสรีน โส๊ะสุบ เลขที่ 25
3.เด็กหญิงรุ่งนภา วัฒนาพันธุ์ เลขที่ 28
4.นางสาวจุฑามาศ มีพันแสน เลขที่ 40
5.นางสาวทิพย์ภาพร บุญพงษ์มณี เลขที่ 41


กลุ่ม
1. นายธนกฤต ชนะศรี เลขที่ 4 (หัวหน้ากลุ่ม)
2. นายฐิติศักดิ์ วาณิชย์ปกรณ์ เลขที่ 10
3. นางสาวกฤษฏิกา ประชุมวรรณ์ เลขที่ 22
4. นางสาวพิชญาภรณ์ ประดับเพชร เลขที่ 26
5. 
นางสาวขนิษฐา ตั้งวรางกูร เลขที่ 39


กลุ่ม
1. นายณัฐนันท์ พัฒนา เลขที่ 11
2. นางสาวธนพร เสวกวัง เลขที่ 16
3. นางสาวกันตินันท์ อังคะนาวิน เลขที่ 17
4. นางสาวพิมพ์ปวีณ์ อินสว่าง เลขที่ 27
5. นางสาวอภิสรา จันทร์ทอง เลขที่ 29


กลุ่ม

1. นายพสุธร ชูช่วย เลขที่ 5
2. นายกษิดิิศ มาอินจร เลขที่ 7
3. นส. ธัญวรัตม์ พิสุทธิ์พิทยากุล เลขที่ 31
4. นส.ปิ่นชนก รัตนสุคนธ์ เลขที่ 32
5. นส. วันศีล์ ขุนกิจ เลขที่ 35




กลุ่ม

1.นายธัญพิสิษฐ์ ไชยศิลป์สังข์ เลขที่ 12 
2.นางสาวจุฑารัตน์ ทองเหลือง เลขที่ 23 
3.นางสาวจุติ์ภิญญ์ โสตถิพันธุ์ เลขที่ 24 
4.นางสาวสุภาภรณ์ ทองวโรทัย เลขที่ 37 
5.นางสาวอันนา เห็นชอบ เลขที่ 38



กลุ่ม

1.นายชนาณัติ รักขพันธ์ เลขที่ 8
2.น.ส. ธันยธรณ์ รามดิษฐ์ เลขที่ 18
3.น.ส.มนัญชยา ชะโนวรรณ เลขที่ 33
4.น.ส.วริศา ชีวาพัฒนานุวงศ์ เลขที่ 34
5.น.ส.อุดมรัตน์ นันตสุวรรณ เลขที่ 49




กลุ่ม

1. นายเจริญลาภ โชติกุญชร ม.4/9 เลขที่ 2
2. นายณัฐพงศ์ ถาวิสิทธิ์ ม.4/9 เลขที่ 3
3. นางสาวบุญณิตา สุวรรณชาตรี ม.4/9 เลขที่ 44
4. นางสาวปิยนารถ ด้วยเอียด ม.4/9 เลขที่ 45




กลุ่ม

1. นางสาวสุชานันท์ ธัญญภัทรพงศ์ เลขที่ 19 
2. นายชวกร ปิยะชาติ เลขที่ 1
3. นายอริย์ธัช อะลัมซา เลขที่ 15
4. นางสาวกุลนันท์ สหายสุข เลขที่ 21
5. นางสาวนภาภรณ์ แซ่หลี เลขที่ 43









ผู้สอน  ครูไวยุด๊ะ  เหตุเหล๊าะ  
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย  จังหวัดสงขลา



วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

กิจกรรม เรื่อง การออสโโมซีสในเซลล์ไข่





ครูไวยุ์


     การออสโมซีสในเซลล์ไข่ เป็นการศึกษาการเกิดออสโมซีสของน้ำเข้าสู่เซลล์ไข่ แล้วทำให้เกิดแรงดันออสโมซีสขึ้น เมื่อมีการวัดระดับของเหลวเปรียบเทียบกับเวลา ก็จะได้ความเร็วของการออสโมซีส เรียก เครื่องมือ ที่ใช้วัด แรงดันออสโมซีสว่า ออสโมมิเตอร์ (osmositer)

ขั้นตอนการทำกิจกรรม

1. นำไข่ไก่ดิบมาเลาะเปลือกแข็งด้านป้านออก ให้มีรัศมีประมาณ 1 เซนติเมตร

  

2. เจาะเปลือกไข่ด้านแหลมให้มีขนาดใกล้เคียงกับหลอดดูด วัดระดับของหลอดดูดที่จะเจาะเข้าไปในฟองไข่ ขีดเครื่องหมายที่หลอด เจาะหลอดเข้าไปฟองไข่




3. ใช้ดินน้ำมันซีนหลอดกับเหลือกไข่ให้สนิท ถ้ามีรอยรั่วการทดบองจะไม่เกิดผล



4. ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที สังเกตและบันทึกผลระดับของของเหลวในหลอดทุก 5 นาที







การออสโมซีส (Osmosis) เป็นกระบวนการที่เกิดจากเซลล์อยูในสภาพที่มีความเข้มข้นแตกต่างกับสิ่งแวดล้อม ทำให้โมเลกุลของน้ำในเซลล์มีการเคลื่อนที่จากบริเวณที่ีความเข้มข้นของน้ำมากไปบริเวณที่มีความเข้มข้นของน้ำน้อย ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ และทำให้เกิดแรงดันออสโมซีส (Osmotic Pressure) 
ค่าแรงดันออสโมซิสของของเหลว ขึ้นอยู่กับของเหลวจะสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับสารละลายนั้น น้ำบริสุทธิ์มีแรงดันออสโมซิสต่ำสุด

แรงดันเต่ง (turgor pressure) คือแรงดันที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ อันเกิดจากน้ำแพร่เข้าไปในเซลล์ มีหน่วยเป็นบรรยากาศ

- จากปฏิบัติการทดลองออสโมมิเตอร์อย่างง่าย แรงดันเต่งวัดได้จากระดับของของเหลวที่ถูกดันขึ้นไปในหลอด เมื่อน้ำแพร่เข้าไปในไข่ แรงดันเต่งจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่เมื่อน้ำแพร่เข้าสู่ถึงจุดสมดุลของการแพร่ ระดับน้ำในหลองคงที่ จะได้ว่า

แรงดันเต่งสูงสุด = แรงดันออสโมติกของสารละลาย


- ที่สภาวะสมดุลของการแพร่ น้ำจากภายนอกไข่ แพร่เข้าสู่ภายในไข่ เท่ากับน้ำภายในไข่ แพร่ออกสู่ภายนอกไข่

ประโยชน์ของแรงดันเต่ง

1. ทำให้เซลล์เต่ง
2. ทำให้เซลล์คงรูปร่างอยู่ได้
3. ทำให้กิ่งหรือใบพืชแผ่กาง ยอดพืชตั้งตรง
ถ้าน้ำภายนอกเซลล์มีแรงดันออสโมติกสูงกว่าภายในเซลล์ จะเกิดโมเลกุลของน้ำแพร่จากเซลล์ไปสู่ภายนอกเซลล์ ถ้าเซลล์สูญเสียน้ำแรงดันเต่งจะค่อยๆลดลง

พลาสโมไลซิส (Plasmolysis) คือปรากฏการณ์ที่เซลล์สูญเสียน้ำ โพรโทพลาสซึมจะค่อยๆหดรวมตัวเป็นก้อน เยื่อหุ้มเซลล์ค่อยๆหดเข้ามา ทำให้เซลล์เหี่ยว 

พลาสมอพทิซิส ( Plasmoptysis) คือปรากฏการณ์ที่เซลล์เต่ง เนื่องจากน้ำภายนอกเซลล์มีแรงดันออสโมติกน้อยกว่าภายในเซลล์ จึงเกิดการแพร่เข้าไปในเซลล์

- เซลล์พืชถ้าได้รับน้ำมากๆจะไม่เกิดอันตราย เพราะมีผนังเซลล์เป็นตัวทำให้ แรงดันเต่งภายในเซลล์สูงเท่ากับแรงดันออสโมติก ทำให้เกิดสภาวะสมดุลของการแพร่ เซลล์จะไม่รับน้ำเพิ่ม 

- เซลล์สัตว์ไม่มีผนังเซลล์ ถ้าน้ำแพร่เข้าไปมากเซลล์จะแตก

- เซลล์ของพวกโพรทิสต์เซลล์เดียว ถ้าได้รับน้ำมากๆ แม้จะไม่มีผนังเซลล์แต่เซลล์สามารถกำจัดน้ำที่
มากเกินความต้องการออกทาง คอนแทรกไทล์แวคิวโอล


นางไวยุด๊ะ  เหตุเหล๊าะ  :  ครูผู้สอน

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/8  ร่วมทำกิจกรรม