วิธีการทางวิทยาศาสตร์








ครูป้าไวยุ์


 การศึกษาชีววิทยาและวิธีการทางวิทยาศาสตร์
1.2.1 การศึกษาชีววิทยา จากที่กล่าวมาแล้วก่อนนี้ว่าชีววิทยาแบ่งออกได้แขนง
เมื่อใช้เกณฑ์ต่าง ดังนั้นการศึกษาแต่ละแขนงก็แตกต่างกันออกไป เช่น นักชีววิทยา
โมเลกุล (molecular biologist) เป็นผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างและการทำงาน
ของหน่วยพันธุกรรมในระดับโมเลกุล ซึ่งสัมพันธ์กันระหว่างชีววิทยาและเคมี โดย
เฉพาะสาขาพันธุศาสตร์และชีวเคมี
1.2.2 วิธีการทางวิทยาศาสตร์  มีแนวทางเดช่นเดียวกับการศึกษาวิจึ่งมี
กระบวนการ (Process) ในการศึกษาเพื่อค้นหาคำตอบโดยใช้วิธีการทาง
วิทยาศาสตร์ (Scientific  Method) ที่เริ่มจากการสังเกต (Observation)
การตั้งสมมติฐาน (hypothesis) การตรวจสอบสมมติฐาน (hypothesis testing)
การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล  (data collection and analysis)
และการสรุปผล (Conclusion)
แผนภาพแสดงขั้นตอนในวิธีการทางวิทยาศาสตร์
การสังเกต  โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ การมองเห็น  การได้ยิน การได้กลิ่น
การรับรส และการรับสัมผัส รวมถึงเครื่องมือช่วยขยายความสามารถของประสาท
สัมผัส และมีการบันทึกข้อมูลต่างๆ ที่ได้อย่างเป็นระบบ
การตั้งสมมติฐาน การคาดคะเนคำตอบของปัญหาที่ต้องการทราบ ทั้งนี้การ
ตั้งสมมติฐานเกิดจากการนำข้อมูลที่มาจากการสังเกตมาเป็นข้อมูลและสามารถ
ตั้งได้หลายแง่มุมหรือหลายข้อ
การตรวจสอบสมมติฐาน การดำเนินการ โดยอาศัยการรวบรวมข้อมูลทั้งจาก
การสำรวจ การทดลอง หรือวิธีการอื่นๆ ประกอบกัน ส่วนมากใช้การทดลอง
(experiment) เพราะสามารถควบคุมตัวแปร (Variable) ได้ดี ตัวแปรแบ่งออก
เป็น  3  ชนิด  คือ
1)  ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (Independent  variable)  คือ ตัวแปรที่
ต้องศึกษาทำการตรวจสอบและดูผลของมัน เป็นตัวแปรที่เรากำหนดขึ้นมา เป็น
ตัวแปรที่ไม่อยู่ในความควบคุมของตัวแปรใด ๆ
2)  ตัวแปรตาม (Dependent variable) คือ ตัวแปรที่ไม่มีความเป็นอิสระใน
ตัวมันเอง เปลี่ยนแปลงไปตามตัวแปรอิสระ เพราะเป็นผลของตัวแปรอิสระ
3)  ตัวแปรควบคุม (Controlled  variable) หมายถึง สิ่งอื่น ๆ นอกจาก
ตัวแปรต้น ที่ทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อนแต่เราควบคุมให้คงที่ตลอดการทดลอง
เนื่องจากยังไม่ต้องการศึกษา
การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล   เป็นขั้นที่นำข้อมูลที่ได้จาก
การสังเกต การค้นคว้า การทดลอง หรือการรวบรวมข้อมูลหรือข้อเท็จจริง
มาทำการวิเคราะห์ผล อธิบายความหมายของข้อเท็จจริง แล้วนำไปเปรียบเทียบ
กับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ว่าสอดคล้องกับสมมติฐานหรือไม่
การสรุปผล   เป็นขั้นสรุปผลที่ได้จากการทดลอง การค้นคว้ารวบรวมข้อมูล
สรุปข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือการทดลองว่าสมมติฐานข้อใดถูก พร้อมทั้ง
สร้างทฤษฎีที่จะใช้เป็นแนวทางสำหรับอธิบายปรากฏการณ์อื่น ๆ ที่คล้ายกัน
และนำไปใช้ปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้ดีขึ้น


กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น