วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

การศึกษาการทำสไลด์เพื่อศึกษาลักษณะของเซลล์พืชและการไหลเวียนของไซโทพลาซึม (สาหร่ายหางกระรอก)





ครูไวยุ์



    ผลงานนักเรียนการศึกษาการทำสไลด์เพื่อศึกษาลักษณะของเซลล์พืช (สาหร่ายหางกระรอก)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/9  ปีการศึกษา 2556  โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย


สาหร่ายหางกระรอก
ื่อวิทยาศาสตร์ (Hydrill verticillata (Linn. f.) Royle)
ชื่อพื้นเมืองและอื่นๆ hydrilla ผักขี้เต่า

    พืชใต้น้ำที่มีอายุข้ามปี พบว่ามีทั้งที่เป็นต้นแยกเพศหรือต้นที่มีทั้งสองเพศ ลำต้นเป็นสายกลมเรียวยาวตามระดับน้ำแตกกิ่งก้านสาขา
ลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดินเรียกว่า Tuber หัวที่ซอกใบ เรียกว่า turion สำหรับสะสมอาหาร รากยึดดินใต้น้ำและมีรากตามข้อบ้าง

    ใบ เดี่ยวแตกเป็นวงรอบข้อ 3-8 ใบ ไม่มีก้านใบแผ่นใบรูปไข่ยาว หรือรูปไข่ขอบขนาน ใบยาว 7-30 มิลลิเมตร ของใบหยักเป็นฟันเลื่อยละเอียด

    ดอก เดี่ยวขนาดเล็กแยกเพศ ดอกเพศเมียมีกาบหุ้ม โคนก้านดอกลักษณะเรียวยาวส่งดอกขึ้นมาบานที่ผิวน้ำ ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอก สีขาว 3 กลีบ ภายในรังไข่เพียง 1 ช่อง ยอดเกสรเพศเมียมี 3 ดอกเพศผู้มีกาบหุ้มเช่นกัน ดอกมีขนาดเล็ก ก้านดอกสั้นเมื่อดอกแก่จะหลุดลอยขึ้นไปบานที่ผิวกลีบเลี้ยง 3 กลีบ และกลีบดอก 3 กลีบ จะบานกางกระดกกลีบลงล่าง เกสรเพศผู้ 3 อัน ชูเหนือน้ำ อับเกสรเพศผู้ 4 ช่อง เมื่อแก่แตกออก ละอองเกสรจะปลิวฟุ้งกระจายไปตามลม เกิดการผสมเกสรระหว่างดอกเพศเมียที่ผิวน้ำ

     ผล ขนาดเล็กรูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร ภายในมีเมล็ด 2-3 เมล็ด

    เป็นวัชพืชที่ขึ้นอยู่ใต้ผิวน้ำ ในระดับความลึกไม่เกิน 5 เมตร ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความโปร่งใสของน้ำที่แสงแดดจะส่องผ่านได้สักเท่าใด สาหร่ายหางกระรอกต้องการแสงน้อยมากเพียง 1 % ของแสงแดดปกติเท่านั้น ความยาวลำต้นขึ้นอยู่กับระดับน้ำ ลำต้นจะแตกกิ่งก้านสาขาจำนวนมาก สานกันอยู่แน่น ปริมาณสาหร่ายหางกระรอกมีพบอยู่ระหว่าง 0.4 - 0.8 ตัน น้ำหนักแห้งต่อพื้นที่ 1 ไร่

    การขยายพันธุ์ มีหลายวิธี แต่ที่พบมากในเมืองไทย ได้แก่ การหลุดขาดของส่วนยอดของลำต้นเมื่องอกเป็นต้นใหม่ วิธีที่ 2คือคือการหลุดขาดของลำต้นซึ่งสามารถงอกเป็นต้นใหม่ได้ และวิธีที่ 3 คือ หัวใต้ดินของสาหร่ายหางกระรอก ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อสะสมอาหาร เมื่ออยู่ในสภาพแห้งแล้งหรือโดนสารเคมี และจะงอกเป็นต้นใหม่ได้เมื่อสภาพเหมาะสม เนื่องจากการแพร่กระจายของสาหร่ายหางกระรอก เป็นไปได้อย่างง่ายดาย และการควบคุมก็ลำบากเนื่องจากสาหร่ายหางกระรอกมีการลงหัว จึงพบว่าแพร่กระจายทั่วไปในคลองส่งน้ำและอ่างน้ำในเขตชลประทาน ในทั่วทุกภาคของประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตชลประทานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



สาหร่ายหางกระรอก

กลุ่ม  
1. นายพงศกร อมรมธุุรพจน์ เลขที่ 14
2. น.ส.ทิพยาภรณ์ กาวชู เลขทีี่ 42
3. น.ส.ผกายวรรณ จันทร์จิตร เลขที่ 46
4. น.ส.แพรวปรีญา แซ่ฉิ่น เลขที่ 47
5. น.ส.ภัควิภา วัชระศิรานนท์ เลขที่ 48




กลุ่ม 

1.นายชนาธิป เกิดสินธ์ชัย เลขที่ 9
2.นายศรายุทธ กมลศรี เลขที่ 6
3.นางสาวอิชยา หนูเกื้อ เลขที่ 20
4.นางสาวณิชนันท์ ชีวนิชพันธ์ เลขที่ 30
5.นางสาวศุภกาญจน์ ตั้งโพธิธรรม เลขที่ 36




กลุ่ม
1.นายนรวิชญ์ สุวารักษ์ เลขที่ 13
2.นางสาวนัสรีน โส๊ะสุบ เลขที่ 25
3.เด็กหญิงรุ่งนภา วัฒนาพันธุ์ เลขที่ 28
4.นางสาวจุฑามาศ มีพันแสน เลขที่ 40
5.นางสาวทิพย์ภาพร บุญพงษ์มณี เลขที่ 41


กลุ่ม
1. นายธนกฤต ชนะศรี เลขที่ 4 (หัวหน้ากลุ่ม)
2. นายฐิติศักดิ์ วาณิชย์ปกรณ์ เลขที่ 10
3. นางสาวกฤษฏิกา ประชุมวรรณ์ เลขที่ 22
4. นางสาวพิชญาภรณ์ ประดับเพชร เลขที่ 26
5. 
นางสาวขนิษฐา ตั้งวรางกูร เลขที่ 39


กลุ่ม
1. นายณัฐนันท์ พัฒนา เลขที่ 11
2. นางสาวธนพร เสวกวัง เลขที่ 16
3. นางสาวกันตินันท์ อังคะนาวิน เลขที่ 17
4. นางสาวพิมพ์ปวีณ์ อินสว่าง เลขที่ 27
5. นางสาวอภิสรา จันทร์ทอง เลขที่ 29


กลุ่ม

1. นายพสุธร ชูช่วย เลขที่ 5
2. นายกษิดิิศ มาอินจร เลขที่ 7
3. นส. ธัญวรัตม์ พิสุทธิ์พิทยากุล เลขที่ 31
4. นส.ปิ่นชนก รัตนสุคนธ์ เลขที่ 32
5. นส. วันศีล์ ขุนกิจ เลขที่ 35




กลุ่ม

1.นายธัญพิสิษฐ์ ไชยศิลป์สังข์ เลขที่ 12 
2.นางสาวจุฑารัตน์ ทองเหลือง เลขที่ 23 
3.นางสาวจุติ์ภิญญ์ โสตถิพันธุ์ เลขที่ 24 
4.นางสาวสุภาภรณ์ ทองวโรทัย เลขที่ 37 
5.นางสาวอันนา เห็นชอบ เลขที่ 38



กลุ่ม

1.นายชนาณัติ รักขพันธ์ เลขที่ 8
2.น.ส. ธันยธรณ์ รามดิษฐ์ เลขที่ 18
3.น.ส.มนัญชยา ชะโนวรรณ เลขที่ 33
4.น.ส.วริศา ชีวาพัฒนานุวงศ์ เลขที่ 34
5.น.ส.อุดมรัตน์ นันตสุวรรณ เลขที่ 49




กลุ่ม

1. นายเจริญลาภ โชติกุญชร ม.4/9 เลขที่ 2
2. นายณัฐพงศ์ ถาวิสิทธิ์ ม.4/9 เลขที่ 3
3. นางสาวบุญณิตา สุวรรณชาตรี ม.4/9 เลขที่ 44
4. นางสาวปิยนารถ ด้วยเอียด ม.4/9 เลขที่ 45




กลุ่ม

1. นางสาวสุชานันท์ ธัญญภัทรพงศ์ เลขที่ 19 
2. นายชวกร ปิยะชาติ เลขที่ 1
3. นายอริย์ธัช อะลัมซา เลขที่ 15
4. นางสาวกุลนันท์ สหายสุข เลขที่ 21
5. นางสาวนภาภรณ์ แซ่หลี เลขที่ 43









ผู้สอน  ครูไวยุด๊ะ  เหตุเหล๊าะ  
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย  จังหวัดสงขลา



วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

กิจกรรม เรื่อง การออสโโมซีสในเซลล์ไข่





ครูไวยุ์


     การออสโมซีสในเซลล์ไข่ เป็นการศึกษาการเกิดออสโมซีสของน้ำเข้าสู่เซลล์ไข่ แล้วทำให้เกิดแรงดันออสโมซีสขึ้น เมื่อมีการวัดระดับของเหลวเปรียบเทียบกับเวลา ก็จะได้ความเร็วของการออสโมซีส เรียก เครื่องมือ ที่ใช้วัด แรงดันออสโมซีสว่า ออสโมมิเตอร์ (osmositer)

ขั้นตอนการทำกิจกรรม

1. นำไข่ไก่ดิบมาเลาะเปลือกแข็งด้านป้านออก ให้มีรัศมีประมาณ 1 เซนติเมตร

  

2. เจาะเปลือกไข่ด้านแหลมให้มีขนาดใกล้เคียงกับหลอดดูด วัดระดับของหลอดดูดที่จะเจาะเข้าไปในฟองไข่ ขีดเครื่องหมายที่หลอด เจาะหลอดเข้าไปฟองไข่




3. ใช้ดินน้ำมันซีนหลอดกับเหลือกไข่ให้สนิท ถ้ามีรอยรั่วการทดบองจะไม่เกิดผล



4. ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที สังเกตและบันทึกผลระดับของของเหลวในหลอดทุก 5 นาที







การออสโมซีส (Osmosis) เป็นกระบวนการที่เกิดจากเซลล์อยูในสภาพที่มีความเข้มข้นแตกต่างกับสิ่งแวดล้อม ทำให้โมเลกุลของน้ำในเซลล์มีการเคลื่อนที่จากบริเวณที่ีความเข้มข้นของน้ำมากไปบริเวณที่มีความเข้มข้นของน้ำน้อย ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ และทำให้เกิดแรงดันออสโมซีส (Osmotic Pressure) 
ค่าแรงดันออสโมซิสของของเหลว ขึ้นอยู่กับของเหลวจะสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับสารละลายนั้น น้ำบริสุทธิ์มีแรงดันออสโมซิสต่ำสุด

แรงดันเต่ง (turgor pressure) คือแรงดันที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ อันเกิดจากน้ำแพร่เข้าไปในเซลล์ มีหน่วยเป็นบรรยากาศ

- จากปฏิบัติการทดลองออสโมมิเตอร์อย่างง่าย แรงดันเต่งวัดได้จากระดับของของเหลวที่ถูกดันขึ้นไปในหลอด เมื่อน้ำแพร่เข้าไปในไข่ แรงดันเต่งจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่เมื่อน้ำแพร่เข้าสู่ถึงจุดสมดุลของการแพร่ ระดับน้ำในหลองคงที่ จะได้ว่า

แรงดันเต่งสูงสุด = แรงดันออสโมติกของสารละลาย


- ที่สภาวะสมดุลของการแพร่ น้ำจากภายนอกไข่ แพร่เข้าสู่ภายในไข่ เท่ากับน้ำภายในไข่ แพร่ออกสู่ภายนอกไข่

ประโยชน์ของแรงดันเต่ง

1. ทำให้เซลล์เต่ง
2. ทำให้เซลล์คงรูปร่างอยู่ได้
3. ทำให้กิ่งหรือใบพืชแผ่กาง ยอดพืชตั้งตรง
ถ้าน้ำภายนอกเซลล์มีแรงดันออสโมติกสูงกว่าภายในเซลล์ จะเกิดโมเลกุลของน้ำแพร่จากเซลล์ไปสู่ภายนอกเซลล์ ถ้าเซลล์สูญเสียน้ำแรงดันเต่งจะค่อยๆลดลง

พลาสโมไลซิส (Plasmolysis) คือปรากฏการณ์ที่เซลล์สูญเสียน้ำ โพรโทพลาสซึมจะค่อยๆหดรวมตัวเป็นก้อน เยื่อหุ้มเซลล์ค่อยๆหดเข้ามา ทำให้เซลล์เหี่ยว 

พลาสมอพทิซิส ( Plasmoptysis) คือปรากฏการณ์ที่เซลล์เต่ง เนื่องจากน้ำภายนอกเซลล์มีแรงดันออสโมติกน้อยกว่าภายในเซลล์ จึงเกิดการแพร่เข้าไปในเซลล์

- เซลล์พืชถ้าได้รับน้ำมากๆจะไม่เกิดอันตราย เพราะมีผนังเซลล์เป็นตัวทำให้ แรงดันเต่งภายในเซลล์สูงเท่ากับแรงดันออสโมติก ทำให้เกิดสภาวะสมดุลของการแพร่ เซลล์จะไม่รับน้ำเพิ่ม 

- เซลล์สัตว์ไม่มีผนังเซลล์ ถ้าน้ำแพร่เข้าไปมากเซลล์จะแตก

- เซลล์ของพวกโพรทิสต์เซลล์เดียว ถ้าได้รับน้ำมากๆ แม้จะไม่มีผนังเซลล์แต่เซลล์สามารถกำจัดน้ำที่
มากเกินความต้องการออกทาง คอนแทรกไทล์แวคิวโอล


นางไวยุด๊ะ  เหตุเหล๊าะ  :  ครูผู้สอน

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/8  ร่วมทำกิจกรรม

วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การศึกษาการทำสไลด์เพื่อศึกษาเซลล์ที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าท่ีเฉพาะในใบว่านกาบหอย





ครูไวยุ์



     ผลงานนักเรียนการศึกษาการทำสไลด์เพื่อศึกษาเซลล์ที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าท่ีเฉพาะในใบว่านกาบหอย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/8  ปีการศึกษา 2556  โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย


ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับว่านกาบหอย


ชื่อพื้นเมือง :  ว่านกาบหอย 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Tradescantia spathacea Steam

ชื่อวงศ์ : COMMELINACEAE

ชื่อสามัญ :  Oyster Plant

สรุปลักษณะและข้อมูลพันธุ์ไม้ : ไม้ล้มลุก  สูง  0.5–0.15 เมตร  ทรงพุ่มกว้าง  0.20-0.30 เมตร ลำต้นเหนือดินตั้งตรงเองไม่ได้ทอดเลื้อยไปตามพื้น  ผิวลำต้นเรียบ  ข้อปล้องเห็นได้ชัดเจน  ต้นอ่อนมีสีขาว  ต้นแก่มีสีขาวแกมเหลือง  มีน้ำยางใส  ใบเป็นใบเดี่ยว  เรียงรอบวง รูปแถบจนถึงรูปหอก เป็นใบเดี่ยว  สีของใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน  ส่วนใบแก่มีสีเขียวเข้ม  ขนาดใบกว้าง 3-5  เซนติเมตร ยาว 20-25 เซนติเมตร มีปลายใบแหลม  รูปร่างโคนใบเป็นรูปตัด  โอบรอบลำต้น รูปร่างขอบใบเรียบ  ลักษณะพิเศษของใบ  แผ่นใบข้างบนสีเขียว  แผ่นใบข้างล่างสีม่วงแดง เส้นใบขนาน เห็นไม่ชัด ไม่มีก้านใบ ดอก ออกช่อตามง่ามใบ มีทั้งช่อเดี่ยวและหลายช่อ แต่ละช่อประกอบด้วยใบประดับที่เป็นกาบ 2 กาบ สีม่วงแซมเขียว รูปหัวใจโค้ง กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 3-4 เซนติเมตร โคนกาบทั้งสองประกบเกยซ้อนและโอบหุ้มดอกสีขาวขนาดเล็กที่อยู่รวมกันเป็นกระจุก ก้านช่อดอกยาว 1-5 เซนติเมตร โคนก้านช่อดอกมีใบประดับ 1 ใบ สีม่วงแซมเขียว รูปไข่กลับ ก้านดอกยาว 1-1.5 เซนติเมตร  โคนก้านดอกมีใบประดับสีม่วงอ่อนเป็นเยื่อบาง รูปไข่ ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 3 กลีบ สีขาว รูปไข่แกมรูปขอบขนาน ยาว 3-6 มิลลิเมตร บางใส กลีบดอก 3 กลีบ สีขาว รูปไข่ กว้าง 4-6 มิลลิเมตร ยาว 5-8 มิลลิเมตร แผ่นกลีบหนา เกสรเพศผู้ 6 อัน ก้านชูอับเรณูสีขาว รูปเรียว มีขนยาว ส่วนปลายก้านแผ่แบนสีเหลือง  รังไข่ผนังเรียบ ภายในมี 3 ช่อง แต่ละช่องมี ออวุล 1 เม็ดผลเล็ก รูปรี เมล็ดเล็ก

ประโยชน์ :  นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ใช้เป็นยาแผนโบราณ ไทย  ใช้แก้ไอ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ และฟกช้ำ  ดอกแก้อาการตกเลือดในลำไส้ แก้บิด และแก้ไอ ในไต้หวันใช้พอกแผล มีดบาด และแก้บวม
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง :  





ผลงานการวิจัย                                                                    
มีรายงานการวิจัยของว่านกาบหอยในฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาว่า สามารถต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อไวรัส ต้านเชื้อรา ยับยั้งการอักเสบ ต้านมะเร็ง ได้

วิธีการใช้ตามภูมิปัญญาไทย                               
ว่านกาบหอย" บางท้องถิ่นจะเรียกว่าว่านหอยแครง ว่านกาบหอยมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกากลาง ปลายใบแหลมแตกออกจากลำต้นติดพื้นดินเป็นวงโดยรอบ ใบด้าน บนสีเขียว ส่วนด้านล่างเป็น สีม่วงแดง ดอกออกจากโคนใบเป็นช่อสีขาว มีใบประดับเป็นกระเปาะสีม่วงแดงหุ้มอยู่ ผลเป็นรูปกระสวย แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ แก้ไอ อาเจียนเป็นเลือด แก้ฟกช้ำภายใน เนื่องจากพลัดตกจากที่สูง หกล้ม หรือถูกของแข็ง แก้บิดถ่ายเป็นเลือด แก้ปัสสาวะ เป็นเลือด โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยาคือใบและดอก โดยใบอาจจะใช้ใบสดหรือใบแห้งก็ได้สำหรับดอกนั้นให้เก็บเมื่อดอกโตเต็มที่ใช้รักษาอาการไออาจจะเป็นไอแห้ง ๆ หรือไอมีเสมหะปนเลือดเล็กน้อย หรือไอเป็นเลือด แก้อาเจียนเป็นเลือดแก้เลือดกำเดาไหล แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้บิดที่ถ่ายเป็นเลือดและยังใช้เป็น ยาห้ามเลือดเมื่อมีบาดแผลได้อาการฟกช้ำภาย นอกให้ใช้ใบสดมาล้างให้สะอาด นำไปตำและพอกหรือทาบริเวณที่เป็นรอยฟกช้ำ ทาบ่อย ๆ จนกว่า อาการจะดีขึ้น  ตามตำรับยานั้น ให้ใช้ใบสดของว่านกาบหอย ประมาณ 3-4 ใบ ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว เติมน้ำตาลกรวด รับประทานเช้าเย็น 1 สัปดาห์ หรือถ้าต้องการรักษาอาการหวัด ไอมีเสมหะปนเลือด เลือดกำเดาออก บิดจากแบคทีเรีย ใช้ช่อดอกแห้ง 20-30 ช่อ ใส่น้ำท่วมยาต้มน้ำกิน

เครื่องดื่มสุขภาพดี น้ำว่านกาบหอย ดับกระหายคลายร้อน
เครื่องเพื่อสุขภาพ สำหรับคนที่รักสุขภาพคงรู้จัก "ว่านกาบหอย" กันดี เพราะว่านกาบหอยมีสรรพคุณ
1. ช่วยให้คุณคลายร้อน แก้ไอ อาเจียนเป็นเลือด แก้ฟกช้ำภายในเนื่องจากพลัดตกจากที่สูงหรือหกล้มฟาด
ถูกของแข็ง แก้บิดถ่ายเป็นเลือด แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แถมดอก ยังให้ความชุ่มชื่น ใช้ขับเสมหะ แก้ไอแห้งๆ แก้อาเจียนเป็นเลือด เลือดกำเดา ห้ามเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด แกไอเป็นเลือด เห็นสรรพคุณของว่านกาบ
หอยกันแล้ว แบบนี้เราก็ไม่ควรพลาดเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ น้ำว่านกาบหอย กันน่ะค่ะ

ส่วนผสม เครื่องดื่มสุขภาพดี น้ำว่านกาบหอย

1. ใบว่านกาบหอย 5 - 15 ใบ
2. น้ำสะอาด 2 - 1/2 ถ้วย
3. น้ำตาลทราย 1/3

วิธีทำ เครื่องดื่มสุขภาพดี น้ำว่านกาบหอย
นำใยว่านกาบหอยสด ล้างให้สะอาด แช่ด่างทับทิม 10 -20 นาที หั่นตามขวางให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ลงในหม้อน้ำเดือด ต้มให้เดือด 3-7 นาที เติมน้ำตาลทราย พอหวาน กรองกากออก จะได้น้ำว่านกาบหอยสีชมพูอ่อน กรองใส่ขวดนึ่ง 20-30 นาที เย็นแล้วเก็บใส่ตู้เย็น ดื่มได้หลายวัน

สรรพคุณ ใบสด แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ แก้ฟก ช้ำภายใน เนื่องจากพลัดตกหกล้ม ดอกสด ใช้แก้ไอ ไอมีเสมหะ ต้มน้ำดื่มบ่อยๆ ที่

ผลการศึกษา
     การทำสไลด์เพื่อศึกษาเซลล์ที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าท่ีเฉพาะในใบว่านกาบหอย

เนื้อหาสำคัญ


     Guard cell หรือเซลล์คุม เป็นเซลล์ที่เปลี่ยนแปลงรูปร่างไปทำหน้าที่เฉพาะที่พบในพืช อยู่บริเวณเนื้อเยื่อผิว (epidermis) ด้านล่างของใบ ส่วนด้านบนผิวของเซลล์ชั้นเอพิเดอร์มิสมีสารพวกขึ้ผึ้ง เรียกว่า คิวทิน ฉาบอยู่ช่วงป้องกันการระเหยของน้ำออกจากผิวใบปากใบพืช ดังนั้นจะพบเซลล์คุมเฉพาะด้านล่างใบเท่านั้น 
   หน้าที่ของเซลล์คุม ควบคุมการแลกเปลี่ยนแก๊สและการระเหยของน้ำจากใบ เมื่อศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ จะเห็นได้ว่าเซลล์คุมมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ประกอบด้วยเซลล์รูปร่างเรียว รี โค้งเข้าหากัน สองเซลล์ประกบกันคล้ายเมล็ดถั่วผ่าซีก เมื่อภาวะเหมาะสม จะเกิดเป็นช่องเปิดตรงกลาง ได้ เรียกว่าปากใบ หรือ Stoma (หรือ รูเปิดของปากใบ - pl. หรือพหูพจน์ จะเรียกว่า stomata) ในขณะที่อากาศร้อนและพืชอยู่ในสภาวะที่มีการสูญเสียน้ำไปมากๆ เซลล์คุมจะปิด เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำออกจากใบ เป็นการพยายามรักษาปริมาณน้ำเอาไว้
     เซลล์คุมมีคลอโรฟีลล์อยู่ด้วย จึงสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้แต่ประสิทธิภาพอาจจะน้อยกว่าคลอโรพลาสต์ในเซลล์ชั้นเอพิเดอร์มีสด้านบนและการสังเคราะห์ด้วยแสงนี้เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้เกิดการเปิดมิดของปากใบด้วย


การรักษาดุลยภาพน้ำและแร่ธาตุในพืช

     พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยแร่ธาตุและน้ำจากสิ่งแวดล้อม เป็นวัตถุดิบในการสังเคราะห์อาหารด้วยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพียง 1-2% เท่านั้น ส่วนน้ำที่เหลือประมาณ 98-99% จะถูกขับออกจากต้นพืชด้วยการคายน้ำทางใบ เพื่อให้เกิดแรงดึงจากการคายน้ำทำให้สามารถลำเลียงน้ำจากรากพืชไปสู่ส่วนยอดได้ และยังใช้สำหรับรักษาความสมดุลของระบบต่าง ๆ ในต้นพืช

     น้ำส่วนใหญ่ในต้นพืชจะถูกกำจัดออกทางปากใบในรูปของไอน้ำที่ระเหยออกจากปากใบ (stomata) นอกจากนี้บางส่วนอาจสูญเสียออกไปทางผิวใบ ส่วนของลำต้นที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อน ๆ และตามรอยแตกหรือรูเล็ก ๆ ตามลำต้น ในช่วงที่ต้นพืชขาดน้ำ ต้นพืชจะปิดปากใบเพื่อลดการคายน้ำ แต่ยังคงมีการระเหยออกทางผิวใบและรอยแตกตามลำต้น จึงช่วยทำให้ใบและลำต้นพืชไม่ร้อนจัดเกินไป

      การควบคุมการคายน้ำที่ปากใบเกิดขึ้นได้เนื่องจากที่บริเวณรอบปากใบจะมีเซลล์คุม (guard cell) ซึ่งเป็นเซลล์ชั้นนอกสุดของผิวใบ (epidermis layer) พบได้ทั้งด้านบนและด้านล่างของใบ โดยด้านล่างของใบจะมีจำนวนเซลล์คุมมากกว่าด้านบนของใบ ภายในเซลล์คุมจะมีคลอโรพลาสต์ มีลักษณะที่แตกต่างจากเซลล์อื่น ๆ บนผิวใบ คือ เซลล์คุมจะมีลักษณะเป็นเซลล์คู่ โดยผนังด้านในของเซลล์คุมจะหนากว่าผนังเซลล์ด้านนอก



การปิดเปิดของปากใบ



     การเปิดและปิดปากใบเกิดขึ้นเนื่องจากความเต่งของเซลล์คุม โดยเมื่อในต้นพืชมีน้ำอยู่มาก น้ำจากเซลล์ต่าง ๆ รอบเซลล์คุมจะแพร่เข้าสู่เซลล์คุม ทำให้เซลล์คุมเต่งเนื่องจากมีปริมาณน้ำมาก ผนังของเซลล์คุมจึงยืดออกดึงให้ผนังส่วนที่หนางอตัวแยกออกจากกันส่งผลให้ปากใบเปิดออก แต่ในกรณีที่ใบต้นพืชขาดแคลนน้ำ น้ำจากเซลล์คุมจะแพร่ออกสู่เซลล์ต่าง ๆ ที่อยู่รอบเซลล์คุม เซลล์คุมจึงหดตัวไม่สามารถดึงผนังส่วนที่หนาแยกออกจากกันได้ ส่งผลให้ปากใบปิดลง นอกจากนี้ยังพบว่า แสง อุณหภูมิและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ก็เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเปิดและปิดปากใบด้วยเช่นกัน  ปากใบจึงเปรียบเสมือนประตูควบคุมปริมาณน้ำภายในต้นพืช

ผลงานการทำสไลด์เพื่อดูเซลล์คุม


  







การศึกษาการทำสไลด์เพื่อศึกษาเซลล์ใบว่านกาบหอยภายใต้กล้องจุลทรรศน์




กลุ่ม  หอยม๊ะเหนียวติดหนึบ
1. นายบุริศร์ เจียมวิทยนุกูล เลขที่ 10
2. นายณัฏฐบดินทร์ วงศ์หิรัญเดชา เลขที่ 18
3. นางสาวกันต์กนิษฐ์ ทันตะกาลก้อง เลขที่ 38
4. นางสาวสิรินันท์ บิลแหละ เลขที่ 45
5. นางสาวสิริยุพา แก้วบุญศรี เลขที่ 46




กลุ่ม 
ข้าวหมกไก่
1.นายนิติรัฐ ลัภบุญ เลขที่ 5
2.นายนลธวัช เกียรติสโร เลขที่ 9
3.นายภูริดล ทิพากรเกียรติ เลขที่ 16
4.นางสาวพัสชณนัน ขุนหมุด เลขที่ 25
5.นางสาวจิระดา เหลืองจินดา เลขที่ 43




กลุ่ม กุ๊กกุ๊กกุ๊กไก่
1. นางสาวลำธาร เลิศตระกูล เลขที่ 22
2. นางสาวคัทธมาทน์ ธรรมชาติ เลขที่ 23
3. นางสาวอรจิรา ฉันทจุลสินธุ์ เลขที่ 27
4. นางสาวธัญชนก จิตต์วโรดม เลขที่ 28
5. นางสาวพรรณศิริ ลิ่วชัยชาญ เลขที 50






กลุ่ม ชีวะอืมดิ
1.นายบีซอล หรับจัน เลขที่ 1 
2.นายณัฐวัฒน์ สงสม เลขที่ 17
3.นางสาวณัชชา นกหนู เลขที่ 19
4.นางสาวพิมพ์ชนก เจริญสุข เลขที่ 21
5.นางสาวนัทยา แก้วโกมล เลขที่ 33




กลุ่ม ไรก็ได้
1. นายศรพรหม ทองจันทร์ เลขที่ 4
2. นางสาวเจนจิรา แซ่จุ่ง เลขที่ 39
3. นางสาวณิชชารีย์ อนันตพันธ์ เลขที่ 40
4. นางสาวธัญชนก วิศาล เลขที่ 41
5. นางสาววรรณวิสุทธิ์ วรกุลชัยวัฒน์ เลขที่ 42



กลุ่ม เพราะชีวะคือชีวิต
1.นาย วศะ สุขบูรณ์ เลขที่ 12
2.นางสาว ณิชา ณ พัทลุง เลขที่ 20
3.นางสาว กนกขวัญ ชูบุญลาภ เลขที่ 29
4.นางสาว บรรณสรณ์ ว่องธนวัฒน์ เลขที่ 34
5.นางสาว ฟิรดาวส์ เหมสลาหมาด เลขที่ 48



กลุ่ม รากไม้~

1.นายภานุพงศ์ อภินวถาวรกุล เลขที่ 11 หัวหน้ากลุ่ม
2.นายณัฐวร สุขศาล เลขที่ 7
3.นางสาวชนิกานต์ แสวจันทร์ เลขที่ 31
4.นางสาวณัฐพัทร อภัยรัตน์ เลขที่ 32
5.นางสาวสุประวีณ์ เลิศเศรษฐชัย เลขที่ 37




กลุ่ม ข้าวคลุกกะปิ

1.นายธีร์ธวัช ทองรักษา เลขที่ 8
2.นางสาว จันทร์พิมพ์ บุญรัศมี เลขที่ 30
3.นางสาว ปาณิสรา ไทยเจริญ เลขที่ 36
4.นางสาว ธิษณามดี เพชรกาฬ เลขที่ 47 
5.นางสาว สวรินทร์ จิตมานะ เลขที่ 49




กลุ่ม เที่ยงคืนสิบห้านาที 
1.นายธนกร สุกแก้วณรงค์ เลขที่ 2

2.นายศุภวิชญ์ ปล้องอ่อน เลขที่ 13
3.นางสาวธัญวรัตม์ พรหมวิจิต เลขที่ 24
4.นางสาวสิริยากร มนีนาถฐานิสร์ เลขที่ 26
5.นางสาวปภัสมน แสนสุด เลขที่ 35




กลุ่ม ข้าวมันไก่

1.นายเมธัส จงวิไลเกษม เลขที่ 3
2.นายมารวย ธรรมรัตน์ เลขที่ 6
3.นายกษิดิศ วงศ์จารุสถิตย์ เลขที่ 14
4.นายภัทรชนน รองมาก เลขที่ 15
5.นางสาวศิรินยา ชัยพัฒนการ เลขที่ 44






ผู้สอน  ครูไวยุด๊ะ  เหตุเหล๊าะ  
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย  จังหวัดสงขลา

ข้อมูลอ้างอิง

http://www.drpk.ac.th/botany/055.html

วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ตัวอย่างกิจกรรม การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสิ่งมีชีวิต




ครูไวยุ์


ผลงานการทำกิจกรรม การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสิ่งมีชีวิต ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/8, 4/9 และ 4/10

การปรับตัวของปลาหางนกยูงเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง


1.นายธัญพิสิษฐ์          ไชยศิลป์สังข์  เลขที่ 12
2.นางสาวมนัญชยา     ชะโนวรรณ     เลขที่ 33
3.นางสาวขนิษฐา         ตั้งวรางกูร     เลขที่ 39
4.นางสาวนภาภรณ์      แซ่หลี            เลขที่ 43
5.นางสาวอุดมรัตน์      นันตสุวรรณ   เลขที่ 49

ดูตัวอย่าง  คลิก



การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของไส้เดือน

1.นาย ภูริดล ทิพากรเกียรติ เลขที่ 16
2.นาย ณัฐวัฒน์ สงสม เลขที่ 17
3.นางสาว ธัญชนก จิตต์วโรดม เลขที่ 28
4.นางสาว ณัฐพัทร อภัยรัตน์ เลขที่ 32
5.นางสาว สิรินันท์ บิลแหละ เลขที่ 45


ดูตัวอย่าง คลิก



การเจริญเติบโตของถั่วงอก

1.นายบุริศร์ เจียมวิทยานุกูล เลขที่ 10 ม.4/8
2.นายภัทรชนน รองมาก เลขที่ 15 ม.4/8
3.นางสาวณัชชา นกหนู เลขที่ 19 ม.4/8
4.นางสาวอรจิรา ฉันทจุลสินธุ์ เลขที่ 27 ม.4/8
5.นางสาวชนิกานต์ แสงจันทร์ เลขที่ 31 ม.4/8


ดูตัวอย่าง  คลิก


การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของตำลึง (เมื่อไร้ที่ยึดเกาะ)

1. นาย เมธัส จงวิไลเกษม เลขที่ 3
2. นาย มารวย ธรรมรัตน์ เลขที่ 6
3. นาย กษิดิศ วงศ์จารุสถิตย์ เลขที่ 14
4. นางสาว กันต์กนิษฐ์ ทันตะกาลก้อง เลขที่ 38
5. นางสาว ธัญชนก วิศาล เลขที่ 41


ดูตัวอย่าง  คลิก


การตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงของถั่วเขียว

1.นาย ปาณัสม์ สันสาคร เลขที่ 11
2.นางสาว เสาวภา มีระเบียบ เลขที่ 28
3.นางสาว จัยดา สินพงศธร เลขที่ 32
4.นางสาว ศิรวิมล เชยกลิ่น เลขที่ 37
5.นางสาว ธรรศภรณ์ คติสมสกุล เลขที่ 44


ดูตัวอย่าง  คลิก



ควบคุมและสอน  นางไวยุด๊ะ  เหตุเหล๊าะ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย